ขนาดตัวหนังสือ :


รายละเอียด

คำเตือน!! กรุณาตรวจสอบให้ดีก่อนกระทำการโอนเงิน , Be2hand.com จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้น คลิกที่นี่เพื่ออ่านต่อ... หรือ คลิกที่นี่ หากไม่ต้องการให้ขึ้นคำเตือนนี้ในประกาศของคุณ

ขาย และ เปิดจองกล้ายางพารา ปี55- 56
ขายกล้ายางพารามีของพร้อมปลูก และ เปิดรับจองปลูกปี 56 มีของพร้อมตลอดปี สนใจติดต่อสอบถามได้ตลอด เพื่อความสะดวกของลูกค้าที่อยู่ไกลทางแปลงได้ขยายแปลงขายไปยังจังหวัดต่างๆมีใบรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร
ดูข้อมูลได้ข้างล่างนี้ ยางแท้ต้อง แบงค์กล้ายาง

พันธุ์ RRIM600
ตอตาเขียว 11 บาท
ยางชำถุง 1 ฉัตร 20 บาท
ยางชำถุง 2 ฉัตร 25 บาท
ยางบัดดิ้ง 1 ฉัตร 25 บาท
ยาง ยอดดำ 1 ฉัตร 28 บาท

พันธุ์ RRIT251 ทนแล้ง โรค ปานกลาง
ตอตาเขียว 13 บาท
ตอตาเขียวชำถุง 16 บาท
ยางชำถุง 1 ฉัตร 25 บาท
ยางชำถุง 2 ฉัตร 28 บาท
ยางบัดดิ้ง 1 ฉัตร 28 บาท
ยางบัดดิ้ง 2 ฉัตร 30 บาท

พันธุ์ 3001 มาเลย์ ต้นโตไว น้ำยางเยอะ ทนต่อโรค ((4 -5 ปี กรีด))
ตอตาเขียว 28 บาท
ตอ บัดดิ้ง 35 บาท
1 ฉัตร ชำถุง 50 บาท
2 ฉัตร ชำถุง 55 บาท
1 ฉัตร บัดดิ้ง 60 บาท
2 ฉัตร บัดดิ้ง 65 บาท


พันธุ์ 408 เฉลิมพระเกียรติ ทนแล้ง ทนโรค ปานกลาง
1 ฉัตร 60 บาท
2 ฉัตร 65 บาท

พันธุ์ PB350
1 ฉัตร 50 บาท
2 ฉัตร 55 บาท

พันธุ์ 600 ยอดดำ
1 ฉัตร xx บาท
2 ฉัตร xx บาท

กล้ายางพาราสายพันธุ์ต่างๆๆ
พันธุ์ RRIM 3001 สายพันธุ์ไหม่ น้ำยางออกเยอะสุด 4-5 ปีกรีด
เป็นสายพันธุ์ของศูนย์วิจัยยางมาเลเซีย (MRB) ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีวิศวะพันธุกรรม ทำให้ร่นระยะเวลาการในการกรีด เพียงแค่ 4 ปีเศษ ๆ เท่านั้นเป็นสายพันธุ์ไหม่ ที่เปิดตัว เมื่อ 13 สิงหาคม 2009 กรีดได้ใน 4 ปีหลังปลูก ช่วยลดระยะเวลา ให้สั้นลงได้มากกว่าครึ่งของยางพันธุ์เก่าๆ ให้ผลผลิตน้ำยางที่มีศักยภาพไม่ต่ำกว่า 500 กก./ไร่/ปีเส้นรอบวงกว้างและลำต้นตรง ให้เนื้อไม้ 2.0 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น หลังจาก 15 ปีการเพาะปลูกความต้านทานโรค ดีว่าสายพันธุ์บ้านเรากิ่งมีขนาดใหญ่ ทรงพุ่มสูง ใบเขียวเข็ม สังเคราะห์แสงได้ดี ระบบราลึก หาอาหารเก่ง ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขัง และทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีในระดับปานกลาง เมื่อโตเต็มที่จะเป็นลักษณะของไม้ซุง จึงเหมาะกับการปลูกเชิงพาณิชย์ รวมไปถึงการปลูกเป็นสวนป่าด้วยต้านทานโรคใบร่วงจากเชื้อไฟทอปเทอร่า และโรคใบหงิก จากเชื้ออออิเดี้ยมได้ดีระดับปานกลาง แต่ในระยะต้นกล้า ต้องคอยดูแลเป็นพิเศษ
พันธุ์ RRIM600
น้ำยาง 289กิโลกรัม/ไร่/ปี, ความหนาเปลือก ปานกลาง, ผลผลิต 2 ปีแรก ดี, 3-13ปี ดี ต้านทานโรค ทอปโทรา อ่อนแอ,ราแป้ง ปานกลาง, เส้นดำ อ่อนแอ, ราสีชมพู ปานกลาง, พื้นที่ปลูกไม่แนะนำ หน้าดินตื้น ระดับน้ำใต้ดินสูง, ความเจริญเติมโต ปานกลาง, พื้นที่ลาดชันปลูกได้
พันธุ์ RRIT251
น้ำยาง 471กิโลกรัม/ไร่/ปี, ความเจริญเติมโตค่อนข้างดี ,ความหนาของเปลือกเดิม ปานกลาง, ความหนาเปลือกไหม่ ปานกลาง, ผลผลิตดี จนถึง1-10ปี ต้านทานโรคไฟทอปโทรา ปานกลาง,เส้นดำ ค่อนข้างดี, ราสีชมพู ปานกลาง, พื้นที่ปลูกไม่แนะนำ ที่ลาดชัน หน้าดินตื้นระดับน้ำใต้ดินสูง
พันธุ์RRIM226 ยอดดำไทย
น้ำยาง 367กิโลกรัม /ไร่/ปี,แม่พันธุ์PB5/51X600 ระยะก่อนและระหว่างกรีด เติบโตปานกลาง ลำต้นปานกลาง เปลือกเดิมบาง เปลือกงอกไหม่หนา ผลผลิต8 ปี สูงกว่า600 เฉลี่ย37% จำนวนเปลือกแห้งน้อย ต้านทานโรคทอปโทรา และเส้นดำ ดี ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคราแป้ง ต้านทานลมระดับปานกลาง พื้นที่ปลูก ทั่วไป หน้าดินตื้นและระดับน้ำใต้ดินสูงปลูกได้
พันธุ์ 408 เฉลิมพระเกียรติ
น้ำยาง 352 กิโลกรัม/ไร่/ปี, แม่พันธุ์PB5/51XRRIC101 เจริญเติมโตก่อนเปิดกรีดดีระหว่างกรีดปานกลาง ลำต้นสม่ำเสมอ แตกกิ่งทรงเป็นพุ่ม เปลือกเดิมหนางอกไหม่หนาปานกลาง กรีดเหมาะสม ครึ่งลำต้น วันเว้นวัน ผลผลิตเนื้อยางแห้งในพื้นที่ปลูกไหม่ ผลผลิต8ปี สูงกว่า600ร้อยละ62 ต้านทานโรคใบร่วงทอปโทรา ใบจุดก้างปลา ต้านทานปานกลาง ราแป้ง เส้นดำ และราสีชมพู่ เปลือกแห้งปานกลาง ข้อจำกัดพื้นที่การปลูก พื้นที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ลาดชัน และระดับน้ำใต้ดินปลูกได้
พันธุ์ 80
น้ำยาง450-500กิโลกรัม/ไร่/ปี ทนแล้ง ทนโรค อัตราเนื้อยางแห้ง 42-48% อัตราสร้างเปลือกทดแทนเร็ว เปลือกหนาทนต่อการกรีด


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง
ยางพาราจะสามารถปลูกได้และให้ผลดีถ้ามีสภาพแวดล้อมบางประการ ที่เหมาะสมดังนี้
1. พื้นที่ปลูกยาง ไม่ควรอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 200 เมตร และไม่ควรมีความลาดเทเกิน 45 องศา หากจะปลูกยางในพื้นที่ที่มีความลาดเทเกิน 15 องศาขึ้นไป ควรปลูกแบบขั้นบันได
2. ดิน ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร โดยไม่มีชั้นของหินแข็งหรือดินดาน ซึ่งจะขัดขวางการเจริญเติบโตของราก เนื้อดินควรเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีการระบายน้ำและอากาศดี น้ำไม่ท่วมขัง ระดับน้ำใต้ดินลึกกว่า 1 เมตร ไม่เป็นดินเค็มและมีความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.5
3. น้ำฝน มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,350 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกไม่น้อยกว่า 120 วันต่อปี
4. ความชื้นสัมพันธ์ เฉลี่ยตลอดปีไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์
5. อุณหภูมิ เฉลี่ยตลอดปีไม่แตกต่างกันมากนัก ควรมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24-27 องศาเซลเซียส
6. ความเร็วลม เฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 1 เมตรต่อวินาที
7. แหล่งความรู้ ควรมีแหล่งความรู้เรื่องยางไว้ให้บริการแก่เกษตรกรในพื้นที่ด้วย
โรคและแมลงศัตรูยางพารา
โรครากขาว
เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่เกิดจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้กับยางทั่วไปทั้งยางอ่อนและยางแก่
ลักษณะอาการ
จะสังเกตเห็นพุ่มใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ใบร่วงหมดทั้งต้น ขอบใบม้วนเข้าด้านใน ถ้าตรวจดูที่รากจะเห็นเส้นใยของเชื้อราแตกสาขาเป็นร่างแหจับติดแน่นและแผ่คลุมผิวรากที่เป็นโรค ลักษณะของเส้นใย มีสีขาวปลายแบน เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะนูนกลมและกลายเป็นสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลแห้งซีด ในช่วงที่มีฝนตกจะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนต้นหรือส่วนรากที่โผล่พ้นดิน ลักษณะดอกเห็ดจะซ้อนกันหลายชั้น ผิวบนสีเหลืองแกมส้ม ขอบสีขาว ส่วนผิวล่างมีสีส้มแดงหรือน้ำตาล ถ้าตัดดอกเห็นตามขวางจะเห็นชั้นบนเป็นสีขาวและชั้นล่างเป็นสีน้ำตาลแดงชัดเจน
การป้องกันและรักษา
1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางจะต้องทำการถอนรากและเผาทำลายตอไม้ ท่อนไม้ให้หมด เพื่อทำลายเชื้อราอันอาจทำให้เกิด โรครากขาวได้
2. หลังจากปลูกยางไปแล้วประมาณ 1 ปี หมั่นตรวจดูต้นที่เป็นโรค หากไม่พบต้นที่เป็นโรคให้ป้องกันด้วยการทาสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% เคลือบไว้ที่โคนต้นตรงคอดิน รากแก้ว และฐานของรากแขนงแขนง
3. หากพบต้นที่เป็นโรคบริเวณโคนต้น โคนรากและรากแขนงให้ตัดหรือเฉือนทิ้ง แล้วทาด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% ผสมน้ำและควรทำการตรวจซ้ำในปีต่อไป
4. ถ้าพบโรครากขาวในต้นยางอายุน้อยให้ทำการขดรากที่เป็นโรคขึ้นมาเผาทำลาย
. โรคเส้นดำ
เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า เป็นโรคที่ทำอันตรายต่อหน้ากรีดยางมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูง ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุนแรงจนกรีดซ้ำหน้าเดิมไม่ได้ ต้นยางจึงให้ผลผลิตสั้นลงโดยอาจกรีดได้เพียง 8-16 ปีเท่านั้น
ลักษณะอาการ
จะปรากฏอาการเหนือรอยกรีด โดยในระยะแรกเปลือกจะซ้ำมีสีผิดปกติ ต่อมารอยช้ำจะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ ขยายตัวในแนวตั้ง ถ้าเฉือนเปลือกออกดูจะพบลายเส้นดำบนเนื้อไม้ อาการในขั้นรุนแรงจะทำให้เปลือกบริเวณนั้นปริและมีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกจะเน่าหลุดไปในที่สุด เปลือกงอกใหม่จะมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่า ทำให้กรีดยางต่อไปไม่ได้
การป้องกัน
1. อย่าเปิดหน้ายางหรือขึ้นหน้ายางใหม่ในระหว่างฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตก และอย่ากรีดลึกจนถึงเนื้อไม้เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหาย โอกาสที่เชื้อจะเข้าทำลายมีมากขึ้น
2. ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้
3. การกรีดยางในฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีโรคใบร่วงระบาด ควรทาหน้ายางด้วยสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษา
การรักษา
เมื่อพบหน้ากรีดยางเริ่มแสดงอาการให้ใช้สารเมตาแลคซิลอัตรา 7-14 กรัม (1/2 - 1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารแผ่กระจายและจับติด จำนวน 2 ซี.ซี. ( ฝ ช้อนชา) ใช้สารอย่างใดอย่างหนึ่งทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง จะสามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้แต่ถ้าหากฝนตกชุกติดต่อกันควรทาสารเคมีต่อไปอีกจนกว่าโรคนี้จะหาย
โรคเปลือกเน่า
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดรุนแรงมากในฤดูฝน ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุ่นแรงจนกรีดซ้ำไม่ได้
ลักษณะอาการ
ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทา ขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่น เหลือแต่เนื้อไม้สีดำ
การป้องกัน
1. เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในแหล่งปลูกยางที่มีความชื้นสูงมาก ๆ ดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงยางจะได้ลดลง
2. ถ้าพบว่าต้นยางเป็นโรคเปลือกเน่า ควรหยุดกรีดยางประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่ไปติดต้นอื่น
โรคเปลือกแห้ง
สาเหตุสำคัญเกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษา และการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในทอน้ำยางเองด้วย
ลักษณะอาการ
หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุดๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้ายังกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและ หลุดออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา
การป้องกันและรักษา
โรคนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ากรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมโรคกับต้นยางที่เปิดยางแล้ว จึงใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบยางต้นใดที่เป็นโรคนี้เพียงบางส่วน จะต้องทำร่องโดยการใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้โดยรอบบริเวณที่เป็นโรค โดยให้ร่องที่ทำนี้ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ในการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่เป็นโรค เปลี่ยนระบบกรีดใหม่ให้ถูกต้องและหยุดกรีดในช่วงผลัดใบ
การเอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูกใส่ปุ๋ยถูกต้องตามจำนวน และระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้อง จะช่วยป้องกันมิให้ยาวเป็นโรคเปลือก แห้งได้มาก
โรคใบร่วงและผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า
ลักษณะอาการ
ผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนอาการที่ใบจะพบว่าใบร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย ถ้านำใบยางที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคนี้จะสัมพันธุ์กับโรคเส้นดำด้วย เนื่องจากเกิดจากเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดโรคนี้จะทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตยางจะลดลงแต่ก็ไม่ทำให้ต้นยางตาย
การป้องกันและรักษา
ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรคนี้ ถ้าเป็นยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ทีจี 1 และในสวนยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ใช้แคปตาโฟล 80% ในอัตรา 2 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพุ่มใบทุกสัปดาห์ในระหว่างที่โรคกำลังระบาด ส่วนในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่การใช้สารเคมีป้องกันจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงไม่แนะนำให้ทำแต่จะแนะนำให้ใช้วิธีป้องกันรักษาโรคเส้นดำที่บริเวณหน้ากรีดแทน และหยุดกรีดระหว่างที่เกิดโรค ระบาดเท่านั้น
ปลวก
จะทำลายต้นยางโดยการกัดกินส่วนรากและภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้ต้นยางยืนต้นตายโดยไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้จนกว่าจะขุดรากดู
การป้องกันและรักษา
ใช้สารเคมีกำจังแมลง ได้แก่ ออลดริน ดีลดริน เฮพตาคลอ หรือ คลอเดนในรูปของเหลว ราดที่โคนต้นให้ทั่วบริเวณรากของต้นที่ ถูกทำลายและต้นข้างเคียง
หนอนทราย
เป็นหนอนของด้วงชนิดหนึ่งลักษณะลำตัวสั้นป้อม ใหญ่ขนาดนิ้วชี้ สีขาวนวล มีจุดเป็นแถวข้างลำตัว เมื่อนำมาวางบนพื้นดินตัวหนอนจะงอคล้ายเบ็ดตกปลา หนอนทรายจะเริ่มทำลายรากต้นยางขนาดเล็ก มีพุ่มใบ 1-2 ฉัตร ทำให้พุ่มใบมีสีเหลืองเพราะระบบรากถูกทำลายเมื่อขุดต้นยางต้นนั้นมาดูจะพบตัวหนอนทราย
โคนต้นไหม้
เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจัดและถูกแสงแดดเผา ทำให้โคนต้นยางตรงรอยติดตาทางทิศตะวันตกมีอาการไหม้ เปลือกไหม้ เปลือกแห้ง อาการจะลุกลามไปทางส่วนบนและขยายบริเวณไปรอบๆ ต้น จนแห้งตาย
การป้องกันและรักษา
ควรปลูกยางเป็นแถวในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อนเข้าฤดูแล้งให้ใช้ปูนขาวทารอบโคนต้น จากระดับ พื้นดินสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 1 เมตร แล้วใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นและใช้สีน้ำมันทารอยแผล
อาการตายจากยอด
อาการตายจากยอดมักเกิดกับยางอายุระหว่าง 1-6 ปี หลังจากประสบกับปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความร้อนระอุของพื้นดิน ตลอดจนพิษตกค้างของสารเคมีในดิน เช่น สารเคมีปราบวัชพืช สารกำจัดตอ หรือใส่ปุ๋ยมากเกินไป ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น มีชั้นของหินแข็งหรือดินดานอยู่ใต้ดินอาการตายจากยอดจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนหลังจากปลูกยางไปแล้ว 3 ปี
ลักษณะอาการ
กิ่ง ก้าน ยอด จะแห้งตายจากปลายกิ่ง ปลายยอด แล้วลุกลามลงมาทีละน้อย ๆ จนถึงโคนต้น และยืนต้นตายในที่สุด แต่ถ้าผ่านสภาวะแห้งแล้งไปแล้วต้นยังไม่ตาย ลำต้นหรือส่วนที่ยังไม่ตายจะแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ สำหรับส่วนที่แห้งตายไปแล้ว เปลือกจะล่อนออกถ้าแกะดูจะปรากฏเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำทั่วบริเวณเปลือกด้านใน
การป้องกันและรักษา
ถ้าสภาพดินเลวและแห้งแล้งจัดอาจให้น้ำช่วยตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมโคนต้นจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดความรุนแรงของอาการตายจากยอดได้ ควรให้ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด
ระยะปลูก
1. พื้นที่ราบ
ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร จะได้จำนวน 88 ต้นต่อไร่
2. พื้นที่ลาดหรือพื้นที่เชิงเขา
ตั้งแต่ความชัน 15 องศาขึ้นไปต้องทำแนวขั้นบันไดโดยใช้ระยะระหว่างขั้นบันไดอย่างน้อย 8 เมตร ระยะระหว่างต้น 2.50 หรือ 3 เมตร เมื่อกำหนดระยะปลูกได้แล้วก็ทำการวางแนวและปักไม้ทำแนวเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป แนวปลูกควรวางตามทิศทางลม
วิธีปลูก การปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการปลูกด้วยต้น ตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน

วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอ แล้วผาถุงออก ระวังอย่าให้ดินแตก เด็ดขาด จากนั้นวางยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดินเดิมก้นหลุมจัด ให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย

((ทำสัญญา))
มัดจำ 30% นัดวันส่งมอบต้นกล้า และจ่ายอีก 70%
ระบุ พันธุ์ ตามที่ต้องการ
สำเนาบัตรประชาชน ( ใช้สำหรับมันจำกล้ายางเท่านั้น) ระบุด้วยนะคับ
มีจัดการขนส่งให้ หรือ ลูกค้ามารับเอง ( ตามตกลง )

** สนใจติดต่อ แวะชมแปลงก่อนได้ มีใบรับรองพันธุ์ และมีคุณภาพจากประสบการณ์ ใบแก่ ปลอดโรค
แบงค์กล้ายาง โทร ,087-932-7571, 085-568-1454**
จังหวัดจันทบุรี อำเภอ ขลุง สาขาใหญ่
จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอ กันทรลักษ์ สาขา2
จังหวัดมหาสารคาม อำเภอ โกสุมพิสัย สาขา3
จังหวัดขอนแก่น อำเภอ อุบลรัตน์ สาขา4
จังหวัดขอนแก่น อำเภอ หนองเรือ 5
จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอ เมือง 6
facebook,e-mail rung167@hotmail.com
** ราคาไม่รวมค่าจัดส่ง**
**ขอสงวนลิขสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า*


ดูรายชื่อ และ บัญชีอันตราย

ราคา : 11 บาท รายละเอียดการติดต่ออยู่ด้านล่าง ↓↓

แก้ไขครั้งล่าสุด 2012-12-14 21:58:52 ( IP ADDRESS : 182.52.44.22 , , )
ลงประกาศเมื่อ 2012-11-26 13:23:19

สนใจติดต่อ

คุณ : แบงค์กล้ายาง
อี-เมล์ : rung167@hotmail.com
โทรศัพท์ : 087-9327571
โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 087-9327571
อื่น ๆ :
จังหวัด - เขต : จันทบุรี
ตำแหน่งโฆษณานี้ คือ ตำแหน่งโฆษณาพิเศษเฉพาะสมาชิก Verified

ประกาศ/โฆษณาล่าสุด ในหมวดนี้

Copyright © 2023 Be2Hand.com All rights reserved.