รายละเอียด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum iners Reinw. ex Blume
ชื่อสามัญ : Cinnamon
วงศ์ : Lauraceae
ชื่ออื่น : กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) กระดังงา (กาญจนบุรี) กะพังหัน โกเล่ เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้) มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง) ดิ๊กซี่สอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) บอกคอก (ลำปาง) ฝักดาบ (พิษณุโลก) พญาปราบ (นครราชสีมา) สะวง (ปราจีนบุรี)
ชนิดของต้นอบเชย มีความหลากหลายกว่า 50 ชนิด พบในทวีปเอเชียและออสเตรเลีย เฉพาะในประเทศไทยเองมีมากกว่า 16 ชนิด อบเชยของไทยนี้เป็นเครื่องเทศที่มีเนื้อเปลือกหนาและมีกลิ่นหอม ที่ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย แท่งอบเชยมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น มักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่น อบเชยจีน อบเชยลังกา อบเชยญวณ เป็นต้น ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่เก็บมาจากป่าที่มีต้นอบเชยขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ และนำไปขายตามร้านเครื่องเทศเครื่องยาโบราณ อบเชยญวนและอบเชยชวา ปลูกได้ดีในประเทศไทย หากเป็นการปลูกจากเมล็ด ใช้เวลา 3 ปี ก็จะสามารถลอกเปลือกเพื่อเป็นสินค้าได้แล้ว
อบเชยเป็นต้นไม้ขนาดกลาง มีชนิดใหญ่ๆ 5 ชนิดคือ
1. อบเชยศรีลังกา (Cinnamomum zeylanicum) คนไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "อบเชยเทศ" มีราคาแพงที่สุด
2. อบเชยอินโดนีเซีย หรืออบเชยชวา (Cinnamomum burmanii Blume) ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
3. อบเชยญวน (Cinnamomum loureirii Nees) มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และประเทศไทยเราส่งออกอบเชยชนิดนี้
4. อบเชยจีน (Cinnamomum cassia Nees ex. Blume) มีเปลือกหนาและเนื้อหยาบเป็นชนิดที่ ดร.แอนเดอร์สันใช้ศึกษาวิจัย
5. อบเชยไทย (Cinnamomum bejolghota) หรืออบเชยต้น (C. iners Rein w. ex. Blume) พบในป่าเขาที่ยังอุดมสมบูรณ์ในประเทศ แต่ยังไม่ใช้นำมาปลูกเพื่อผลิตเปลือกอบเชย อบเชยไทยมีมากกว่า 16 สายพันธุ์ และยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยด้านสรรพคุณ เปลือกอบเชยไทยจะหนากว่าอบเชยชนิดอื่น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
อบเชยเป็นไม้ยืนต้น ตัวต้นจะสูงประมาณ 4 - 10 เมตร ส่วนเปลือกและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน เส้นใบหยัก 3 เส้น เวลาออกดอกจะออกที่บริเวณซอกใบ หรือปลายกิ่ง โดยออกดอกย่อยสีเหลืองอ่อนรวมกันเป็นช่อ พืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับอบเชยได้เแก่ ชะเอม กะเพราต้น ข่าต้น สมุแว้ง การบูร เทพธาโร
สรรพคุณ
เปลือกอบเชยอบเชยมีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีแทนนินสูงที่ให้รสฝาดจึงนิยมใช้ในยาตำรับแผนโบราณเช่น เป็นส่วนผสมในยาหอมต่าง ๆ โดยใช้ส่วนของเปลือกลำต้น อบเชยทำให้ท้องเป็นปกติดี แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ขับลม ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยในการย่อยอาหาร ย่อยไขมัน (อาจเป็นเพราะไปช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยไขมัน) มีสารต้านแบคทีเรีย และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ (ผลงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา) หรือใช้ในการทำยานัตถุ์ใช้สูดดม เพื่อเพิ่มความสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย แก้โรคท้องร่วงเพราะมีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ส่วนเปลือกลำต้นอายุมากกว่า 6 ปี หรือใบกิ่งยังนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้อีกด้วย (Essential oil) ซึ่งจะมีมากในอบเชยญวณที่ให้น้ำมันหอมระเหย 2.5%
ในการทำอาหารไทย อบเชยที่ใช้ปรุงอาหารจะใช้ชนิดหลอด (ม้วนเปลือกให้เป็นหลอด)ใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น และมักใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกระหรี่ประเภทผัดที่ใช้ผงกระหรี่ ใช้เป็นไส้กระหรี่ปั๊ปใช้ทำยาไทยหลายตำรับ ตำราไทยระบุว่าอบเชยมีกลิ่นหอม มีรสสุขุม มีสรรพคุณใช้บำรุงจิตใจ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ขับลม บำรุงธาตุ แก้บิด แก้ไข้ สันนิบาต ใช้ปรุงยานัตถุ์แก้ปวดหัว นอกจากการใช้เปลือกตำราไทยยังระบุว่ารากและใบมีกลิ่นหอมรสสุขุม ใช้ต้มดื่มขับลมบำรุงธาตุ แก้ท้องอืดเฟ้อ ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ซินนามอนโรลล์ ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม ใช้ผงอบเชยกับน้ำตาลโรยหน้าเพรทส์เซล และนอกจากนี้ยังมีลูกอม หมากฝรั่ง และยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย
ที่สวนสมโภชพันธุ์ไม้เรามีจำหน่ายต้นอบเชยสูง 0.3-1
เมตร จำหน่ายในราคาต้นละ 30
บาท การสั่งซื้อขั้นต่ำ 50
ต้น 100
ต้น 200
ต้น (ส่งฟรี) ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณสมโภช 089-0652129
หรือ sompoth.su@yahoo.com
ท่านสามารถสั่งซื้อหรือโอนเงินเข้ามาที่
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสุขุมวิท ซอย 71 ชื่อบัญชี นางสาววิภา กาวน
เลขที่บัญชี 0712635442
ธนาคารกรุงเทพ สาขาเดอะมอลล์บางกะปิ ชื่อบัญชี นางสาววิภา กาวน
เลขที่บัญชี 2340459573
หลังโอนเงินแล้วรบกวนท่านโทรแจ้งด้วยนะครับ
ราคา 30 ฿
ค่าจัดส่ง : 0